ในขณะที่ CPU ของเราสามารถประมวลผลพันล้านครั้งได้ในเวลาไม่กี่วินาที แต่คอขวดมันดันไปอยู่ที่เจ้าฮาร์ดดิสจอมอืดที่กว่าจะส่งข้อมูลมาประมวลผได้ก็กินเวลาไปสักระยะ ฉะนั้น SSD จึงถูกสร้างมาแทนที่เพื่อทำให้คอขวดนั้นหาย
แต่การเลือกซื้อ SSD นั้นไม่ได้ง่ายกับทุกคน เพราะ SSD มีหลายรุ่น ตั้งแต่่ Slot แบบ PCIe , M.2 และ 2.5 Inch ขนาดต่างกัน ความเร็วต่างกัน เลือกแบบไหนถึงจะเหมาะกับการใช้งาน ในบทความนี้จะแนะนำการเลือกซื้อ SSD ที่ต้องมีประโยชน์กับคุณแน่ ๆ
ทริคหลักในการเลือกซื้อ SSD
- ต้องรู้ Slot คอมพิวเตอร์ของตัวเอง : ค้นหาว่าบนเมนบอร์ดมีช่องสำหรับ SSD แบบ M.2 บนเมนบอร์ดหรือไม่ ถ้าไม่คุณอาจต้องใช้ไดรฟ์แบบ 2.5 นิ้วแทน หรือไม่
- ความจุ 256GB ถึง 1TB : อย่าพิจารณาซื้อไดรฟ์ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลน้อยกว่า 256GB เพิ่มราคาเข้าไปอีกนิดเพื่อ
- SATA แบบ 2.5 นิ้ว ราคาถูกกว่า แต่ความเร็วอาจช้ากว่า :หากคอมพิวเตอร์ของเรารองรับไดรฟ์แบบ NVMe M.2 , PCIe หรือ Optane ให้พิจารณาซื้อไดรฟ์ด้วยหนึ่งในเทคโนโลยีเหล่านี้ อย่างไรก็ตามไดรฟ์ SATA นั้นใช้กันทั่วไปมากขึ้นราคาถูกลงและยังคงมีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมสำหรับการใช้งานทั่วไป
- SSD ใด ๆ ก็ดีกว่าฮาร์ดไดรฟ์:แม้แต่ SSD ที่แย่ที่สุดก็ยังเร็วกว่าฮาร์ดไดรฟ์ถึงสามเท่า ซึ่งถ้ามีงบที่ซื้อได้ ก็เลือกซื้อ SSD เถอะ
เข้าเนื้อหาหลัก
งบในการซื้อ SSD
SSD สำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่มีราคาตั้งแต่ 120GB ถึง 2TB ขณะที่ความจุ 120GB นั้นถูกที่สุด แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะลงวินโดว์แล้วลงเกมหรือโปรแกรมอื่น ๆ มาก มันมีราคาตั้งแต่ 690 – 990 บาท แต่หากเพิ่มเงินอีกหน่อย คุณอาจจะได้ความจุ 256 GB ในราคาเริ่มต้นที่ 1,090 บาท เท่านั้น ซึ่งก็มีความจุมากขึ้นมาอีกครึ่งหนึ่งเลย
คอมพิวเตอร์เรารองรับ SSD ชนิดใด
ใน Desktop ขนาดใหญ่มักจะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเลือกใช้งาน SSD แบบ 2.5 นิ้ว แต่สำหรับ Laptop รุ่นใหม่ ๆ นั้นไม่มีพื้นที่พอที่จะใส่ SSD 2.5 นิ้ว จึงออกแบบมาเป็น M.2 ไดร์ SSD ขนาดเล็ก ที่ใหญ่กว่าซองหมากฝรั่งนิดหนึ่ง หรือจะเป็น Add-in Card ที่เป็น Slot PCIe ที่มีใส่ใน Desktop เท่านั้น ซึ่งจะให้ความเร็วที่ค่อนข้างมาก ทีนี้เลือกแบบไหนถึงจะดี
2.5-inch Serial ATA (SATA) เป็น SSD ชนิดที่พบมากที่สุด และมีราคาถูกที่สุด ไดรฟ์เหล่านี้เลียนแบบรูปร่างของฮาร์ดไดรฟ์แล็ปท็อปแบบดั้งเดิมและเชื่อมต่อผ่าน SATA หากแล็ปท็อปหรือเดสก์ท็อปของคุณมีช่องใส่ฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้วและตัวเชื่อมต่อ SATA ก็สามารถใช้ SSD ชนิดนี้ได้
SSD Add-in Card (AIC): SSD เหล่านี้มีศักยภาพที่จะเร็วกว่า SSD ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมันทำงานผ่านบัส PCI Express ซึ่งให้ความเร็วมากกว่า SATA โดยไดรฟ์ AIC เสียบเข้ากับช่องเสียบบนแผงบนเมนบอร์ดที่ใช้เสียบสำหรับการ์ซาวร์หรือตัวควบคุม RAID และแน่นอนไดร์ชนิดนี้สามารถใส่ได้บน Desktop และเครื่องเราจะต้องมีสล็อต PCIe x4 หรือ x16 เพื่อติดตั้ง และ SSD ชนิดนี้มีราคาแพงสุด
M.2 SSD : มีรูปร่างพอ ๆ กับ Ram desktop มีราคาเท่า ๆ กับ 2.5 นิ้ว ซึ่ง SSD ลักษณะนี้ออกมาสำหรับ Laptop แบบบางเบา หรือ Gaming Laptop แต่ปัจจุบันบอร์ด Desktop หลายรุ่นก็มีช่องใส่สำหรับ M.2 ซึ่งถ้าใครชอบแบบใดก็เลือกใช้ได้ครับ
และนี่คือการเลือกซื้อ SSD ในมุมของ Commart ผมหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์กับทุกคนนะครับ