ในที่สุดก็ได้มีโอกาสรีวิว Linksys E9450 ที่มีดีไซน์เหมือนเป็นเครื่องเล่นเกมมากกว่าเราเตอร์ (ฮ่า) ไงก็ตาม นี่คือเราเตอร์ WIFI 6 คุณภาพสูง โดยมาพร้อมความเร็วสูงสุดถึง 5.4 Gbps และมีเทคโนโลยีช่วยให้การเชื่อมต่อไร้สายได้เสถียรเป็นพิเศษ และใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูง 1.5 GHz ช่วยให้รองรับการใช้งานหนัก ๆ ได้หลายอุปกรณ์
จุดเด่นนอกเหนือจากดีไซน์เลยคือ เป็นเราเตอร์ Wi-Fi 6 จาก Linksys E-Series ปล่อยสัญญาณแบบ Dual Band ได้ทั้ง 2.4 GHz และ 5 GHz ความเร็วสูงสุด AX5400 หรือ 5.4 Gbps และยังครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 2,500 ตารางฟุต ด้วยเสาสัญญาณในตัว 4 เสา ทั้งยังรองรับอุปกรณ์ได้กว่า 40 เครื่อง ควบคุมด้วยซีพียู Tri-Core ความเร็ว 1.5GHz ช่วยให้ใช้งานหลายเครื่องพร้อมกันได้เสถียร
ส่วนฟีเจอร์เด่น ๆ ก็มี OFDMA ช่วยทำให้ WiFi มีประสิทธิภาพมากขึ้น Target Wake Time ช่วยอายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ Wi-Fi เพิ่มขึ้น ช่องสัญญาณ 160 MHz ทำให้สามารถใช้ WiFi ได้ความเร็วมากกว่า 1Gbps กับ MU-MIMO 4×4 รองรับการดาวน์โหลดและอัปโหลดบนอุปกรณ์ 4 เครื่องแบบหนัก ๆ พร้อมกัน และสุดท้ายแปลงตัวเองเป็น Mesh Wi-Fi ก็ยังได้ ทั้งหมดนี่คือ Linksys E9450 ซึ่งจะใช้งานได้ดีขนาดไหน ลองมาดูรีวิวกันเลยครับ
ฟีเจอร์เด่น Linksys E9450
- รองรับ EasyMesh เพื่อขยาย WiFi ให้ครอบคลุมทั่วทั้งบ้าน
- สัญญาณ WiFi ครอบคลุมพื้นที่สูงสุด 2,500 ตารางฟุต รองรับอุปกรณ์ได้มากกว่า 40 เครื่องและความเร็วรวมสูง 5.4 Gbps
- หน่วยประมวลผลแบบ Tri-Core ความเร็ว 1.5GHz ที่ทรงพลัง ให้ดูหนัออนไลน์ที่ความละเอียด 4K / 8K / UHD บนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน สมาร์ททีวี หรือเครื่องเล่นเกมคอนโซลได้ราบรื่นไม่สะดุด
- ขยายแบนด์วิดท์ได้กว้างมากถึง 160MHz คุณสามารถเพลิดเพลินกับความเร็ว WiFi ได้มากกว่า 1Gbps เหมาะสำหรับการสตรีมเกม ดูหนังออนไลน์ และดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ได้รวดเร็วกับอุปกรณ์ที่รองรับ VHT 160MHz
- รับ-ส่งข้อมูลได้หลายเครื่อง ณ เวลาเดียวกันด้วย OFDMA บนเทคโนโลยี WiFi 6
งานดีไซน์
+++
+++
+++
อย่างที่เกริ่นไป ดีไซน์เหมือนเป็นเครื่องเล่นเกมมากกว่าเราเตอร์ (มองไกล ๆ นึกว่า PS**) โดยเฉพาะตรงไฟ LED สีฟ้าที่เด่นสะดุดตามาก ดูในรูปเหมือนจะตัวใหญ่ แต่จริง ๆ มีขนาดไม่ใหญ่มาก งานประกอบและวัสดุก็หรูหราตามสไตล์แบรนด์นี้เลย
+++
+++
ด้านหน้าและหลัง
ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อก็มีทั้ง LAN แบบ Gigabit x 4 กับช่อง WAN x 1 และช่อง USB 3.0 ให้อีก 1 ช่อง
การติดตั้งและใช้งาน
สำหรับการตั้งเครื่องครั้งนี้ เช่นเคย ต่อจาก Modem Router ประจำบ้าน ที่ใช้บริการความเร็ว 500/500 Mbps จุดนี้หากสังเกตที่ไฟ LED จะเห็นช่อง MESH หรือไฟสถานะการใช้โหมด Mesh นี้เอง ซึ่งน่าเสียดายที่เรามี Linksys E9450 ตัวเดียว เลยอดเทสไป..
บรรยากาศการติดตั้ง
การตั้งค่าใช้งานครั้งแรก ก็ต้องเข้าไปตั้งชื่อกับรหัส Wi-Fi ผ่านเว็บเบราเซอร์ก่อน (ไม่มีแอปฯ T_T ตัวที่มีก็ไม่รองรับ) ยังดีที่ตั้งต่าส่วนนี้ไม่ยาก แต่ขอบ่นตรงรหัสสำหรับตั้งค่าตัวเราเตอร์นิด ๆ ต้องใช้ Password ยาวมากก นอกนั้นก็กด Next รัว ๆ ไม่มีอะไรยุ่งยากอีก
ระหว่างตั้งค่า ตัวเราเตอร์จะถามเลยว่า ต้องการใช้เป็น Mesh Wi-Fi เลยไหม จุดนี้หากมี Linksys E9450 มากกว่าหนึ่งตัว ก็ลุยโล้ด
ดูตัวอย่างการตั้งค่าได้ที่คลิปนี้เลย
+++
+++
และนี่ก็คือหน้าตั้งค่าของตัว Linksys E9450 ผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยรวมบอกเลยว่า เหมือนหน้าตั้งค่าเราเตอร์ระดับใช้ในองค์กรเลย ต่างจากเราเตอร์ระดับ Home Use หรือใช้งานประจำบ้านพอควร แต่ก็แลกกับลูกเล่นที่มีให้ใช้งานเพียบ สาย Network น่าจะชอบกัน
+++
+++
หน้าตั้งค่าส่วน Wi-Fi และ Mesh Wi-Fi
สามารถดูสถานะการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างละเอียด กับมีหน้าปัดความเร็วสวย ๆ ให้ดูตามนี้เลย
สามารถตั้งค่าเมนูเป็นภาษาไทยได้
ประสิทธิภาพ
การทดสอบครั้งนี้ ก็จะเทสด้วยอุปกรณ์ 3 ตัว ประกอบด้วย PC สองตัวผ่าน Wi-Fi 6 และสมาร์ทโฟนอีกตัวผ่าน Wi-Fi 6 เช่นกัน เทสด้วยเน็ต 500/500 Mbps มาดูกันว่าตัว Linksys E9450 จะทำได้ดีขนาดไหน
ลองดูสถานะการเชื่อมต่อผ่าน LAN ใน PC จะเห็นเลยว่าตัวเราเตอร์รองรับการเชื่อมต่อเน็ตความเร็ว 1000/1000 (Mbps) ได้เลย
ประเดิมด้วยเทสความเร็วผ่าน Wi-Fi 6 บนโน้ตบุ๊ก ก็ได้ไปเต็ม 500 Mbps แบบนิ่ง ๆ
+++
+++
สุดท้ายฝั่งสมาร์ทโฟน ส่วนนี้มีการดาวน์โหลดเกมและโหลดไฟล์วิดีโอบน PC อีก 2 เครื่อง ที่กำลังเชื่อมต่อตัว Linksys E9450 ด้วยเช่นกัน ผลคือมีความเร็วตกไปบ้าง แต่ก็ยังเร็วเกือบเต็มสปีดที่ควรได้อยู่
สรุป
หล่อทั้งหน้าตาและประสิทธิภาพกันเลย Linksys E9450 นับเป็นเราเตอร์คุณภาพสูงอย่างไม่ต้องกังขาเลย ทั้งความเร็วและความเสถียร โดยเฉพาะความเสถียรที่ต้องบอกเลยว่าเป็นจุดแข็งของเราเตอร์ตัวนี้เลย ใช้งานมากกว่า 3 อุปกรณ์พร้อมกัน ทั้งโหลดไฟล์เกม โหลดวิดีโอความละเอียดสูง และเล่นเกมออนไลน์ต่อด้วยอีก ตัว Linksys E9450 ก็สามารถส่งสัญญาณ Wi-Fi ความเร็วสูง ได้อย่างไม่มีปัญหา
สำหรับข้อสังเกต จุดนี้ก็ต้องขอพูดถึงเรื่องการ Config หรือการตั้งค่าตัวเราเตอร์เลย คือแอบยุ่งยากใช้ได้ การใช้งานครั้งแรก ก็จำเป็นต้องเข้าไปตั้งชื่อกับรหัส Wi-Fi ก่อน และยังต้องตั้งค่าผ่านเว็บเบราเซอร์ด้วย เนื่องจากตัว Linksys E9450 ไม่มีแอปฯ รองรับ หลังตั้งค่าเสร็จ ก็จะเจอกับหน้าเมนูตั้งค่า ที่ไม่ค่อยเหมือนกับเราเตอร์ประจำบ้านเท่าไรนัก แต่เหมือนเราเตอร์สำหรับใช้ในองค์กรมากกว่า จุดนี้ใครที่เชี่ยวชาญเรื่อง Network อาจจะชอบก็ได้ เพราะมีลูกเล่นให้ใข้งานเพียบ รวมไปถึงระบบความปลอดภัย ที่น่าจะระดับองค์กรกันเลย
ท้ายนี้ตัว Linksys E9450 ก็เปิดราคาที่ 4,740 บาท (บางร้าน 5 – 6 พันบาท) นับเป็นราคาที่ถูกเกินคาด เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพและฟีเจอร์ตัวเครื่อง รวมไปถึงหน้าตาที่จัดมาหล่อเอาการ ดูแพงเกินราคาเลยครับ