เราเตอร์ถูกแต่ดี ‘ มี อ ยู่ จ ริ ง ‘ วันนี้มาพบกับ TP-Link Archer C64 AC1200 เราเตอร์ Wi-Fi ตัวเล็ก ราคาก็เล็ก (1,0XX บาท เท่านั้น) หากแต่ประสิทธิภาพเกินเบอร์มาก ๆ นับเป็นเราเตอร์ Wi-Fi ระดับเริ่มต้น ที่ประสิทธิภาพไม่ได้เริ่มต้นเลย เป็นไงมาดู
สำหรับใครที่โจทย์ง่าย ๆ ว่า “อยากได้เราเตอร์ทั่วไป ขอถูก และดี” งั้นรอบนี้ก็จัดถูก ๆ เลยที่งบ 1 พันบาท แต่ประสิทธิภาพดีงามเกินราคา TP-Link Archer C64 เราเตอร์ Wi-Fi Dual Band ร่างเล็ก แต่ภายในอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์สมัยใหม่มากมายอย่าง MU-MIMO กับ Beanforming และ Intelligent Connection อีกทั้งยังเป็น Wave 2 ที่กระจายสัญญาณได้แรงขึ้น 2 เท่า โดยมาพร้อมเสาสัญญาณ 4 เสา และ 1 เสาในตัว
ฟีเจอร์เด่น TP-Link Archer C64
- 11ac Wave2 WiFi – ความเร็ว wireless รวมสูงสุดที่ 867 Mbps บนย่านความถี่ 5 GHz และ 400 Mbps บนย่านความถี่ 2.4 GHz
- Boosted WiFi Coverage – เสาสัญญาณ 4 เสาภายนอกช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สัญญาณเสถียรและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- MU-MIMO – ให้ประสิทธิภาพเป็น 2 เท่า ด้วยการรับ-ส่งข้อมูลอุปกรณ์ 2 เครื่องพร้อมกัน ควบคุมและจัดการง่ายด้วยปลายนิ้วกับเทคโนโลยี TP-LinkTetherMU-MIMO
- Beamforming– เทคโนโลยี Beamforming มอบการส่งออกสัญญาณที่กว้างไกลและครอบคลุม
- AP Mode– รองรับการใช้งานในโหมด Access Point mode
- Intelligent Connection – เชื่อมต่ออุปกรณ์ไปยังพื้นที่ที่ความแออัดน้อยกว่าและ Airtime Fairnessจัดสรรเวลาที่ผู้ใช้งานทำการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายไร้สายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Easy Setup – ควบคุมและจัดการผ่านปลายนิ้วด้วยแอพลิเคชั่น TP-Link Tether
แกะกล่อง
อุปกรณ์ในกล่องตามนี้
หน้าตา
เป็นเราเตอร์ที่ออกแบบได้ Minimal มาก มาเป็นสีเหลี่ยมเล็ก ๆ กับสีดำด้านทั้งตัว ซึ่งการดีไซน์แบบนี้ก็สวยไปอีกแบบเหมือนกัน ไม่ต้องมีส่วนมันเงาหรือโค้งมนเหมือนก่อน
ดำด้านทั้งตัว
ตัวเสาสัญญาณก็มาแปลกไม่แพ้กัน โดยมีทั้งหมด 4 เสา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สัญญาณเสถียรและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมี MU-MIMO กับ Beanforming มาให้ด้วย (เป็นฟีเจอร์ที่ต้องมีจริง ๆ สำหรับเราเตอร์สมัยนี้) ทั้งนี้ตัวเราเตอร์เป็น Dual Band แบบ 802.11ac ความเร็ว AC1200 แบ่งเป็น 5 GHz ที่ 867 Mbps และ 2.4 GHz ที่ 400 Mbps
พอร์ตเชื่อมต่อแบบ Gigabit แบ่งเป็น LAN Ports x 4 และ WAN x 1 ไม่มีปุ่มเปิดปิด
การใช้งาน
การตั้งค่าใช้งานครั้งแรกสำหรับตัว TP-Link Archer C64 ก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงเสียบสาย LAN เข้ากับตัว Modem ประจำบ้าน และสายไฟ จากนั้นก็ใช้รหัสที่เข้าใต้ตัวเครื่องมาใช้ ก็สามารถใช้งานได้ทันที ไม่ต้อง Setup อะไรเพิ่มเติมเลย
หากใช้งานครั้งแรก ก็จะเจอชื่อ Wi-Fi จากคลื่น 2.4 GHz และ 5 GHz แบบนี้เอง
ถ้าหากอยากตั้งค่ารหัสใช้งานเอง ก็สามารถตั้งค่าง่าย ๆ ผ่านแอปฯ TP-Link Tether ได้เลย (ในสมาร์ทโฟนที่ใช้เปิด Dark Mode อยู่นะ หน้าแอปฯ จริง ๆ จะเป็นธีมสีขาว)
สามารถเปลี่ยนโหมดทำงานเป็น AP Mod หรือ Access Point mode จากในแอปฯ TP-Link Tether ก็ได้ หรือกดเช็คสภาพการทำงานของตัวเราเตอร์จากในนี้ก็ได้เช่นกัน ตัวแอปฯ จะช่วยทดสอบให้เอง
หน้าตั้งค่าอื่น ๆ จากในแอปฯ แต่หากใครอยากใช้งานแบบ Advanced กว่านี้ หรือตั้งค่าขั้นสูง ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าผ่านเว็บเบราเซอร์ต่อได้
หน้าตั้งค่าเพิ่มเติมในเว็บเบราเซอร์
ประสิทธิภาพ
เข้าสู่ประเด็นหลักของรีวิวนี้แล้ว สำหรับตัว TP-Link Archer C64 ที่ว่าทำไมถึงบอกว่าเป็น ‘เราเตอร์ Wi-Fi ระดับเริ่มต้น ที่ประสิทธิภาพไม่ได้เริ่มต้น’ หรือมีประสิทธิภาพเกินตัวนั้น ลองดูผลทดสอบนี้เลย เช่นเคย ทดสอบจากเน็ตความเร็ว 500/500 Mbps มาดูกันว่าตัว TP-Link Archer C64 ที่แม้ไม่ใช่ Wi-Fi 6 จะขับออกมาได้ขนาดไหนกัน
ฟีประเดิมด้วยการเชื่อมต่อจากระยะใกล้ก่อน ผ่านคลื่น 5 GHz ผลคือได้ความเร็วเกิน 500 Mbps เรียบร้อย ทั้งความเร็วโหลดและอัปโหลด อีกทั้งยังเสถียรสุด ๆ ไม่มีสัญญาณตกให้เห็นเลย แต่่ถ้าเป็นไปได้ อยากลองทดสอบความเร็ว 1 Gbps อยู่เหมือนกัน
ต่อไปลองเชื่อมต่อจากระยะใกล้ผ่านคลื่น 2.4 GHz ดูบ้าง รอบนี้ได้ความเร็วประมาณ 100 Mbps ทั้งโหลดและอัพโหลด
ลองขยับให้ห่างจากตำแหน่งเราเตอร์ดูบ้าง ระยะห่างก็ประมาณ 1 ห้องใหญ่ ๆ
เชื่อมต่อผ่านคลื่น 5 GHz ในระยะไกล ความเร็วก็เหลืออยู่ที่ 200 Mbps ความเร็วตกไปบ้าง แต่ก็ยังเสถียรอยู่
ส่วนคลื่น 2.4 GHz เหลือประมาณ 60 Mbps และ 30 Mbps ตกมาพอควร แต่ก็ไม่น่าแปลกใจสำหรับคลื่นนี้
สรุป
จากโจทย์ง่าย ๆ “อยากได้เราเตอร์ทั่วไป” ตัว TP-Link Archer C64 ก็ทำได้ตามนั้น ทว่าทำได้เกินคาด แม้จะยังเป็น 802.11ac หรือ Wi-Fi 5 แต่ตัวเราเตอร์ก็สามารถให้ความเร็วได้เกิน 500 Mbps ผ่านคลื่น 5 GHz ได้สบาย ๆ และแม้จะอยู่ห่างออกมาพอควร ก็ยังให้ความเร็วได้สูงอยู่ ส่วนคลื่น 2.4 GHz ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ยังเชื่อมต่อใช้งานได้
ด้านฟีเจอร์อื่น ๆ ก็ต้องยอมรับว่าตัวเราเตอร์ไม่ได้หวือหวามาก แต่ก็ยังมีฟีเจอร์มาไม่น้อย ทั้ง MU-MIMO , Beamforming , Intelligent Connection , AP Mode และสุดท้าย 802.11ac Wave 2 มาตรฐานการเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบใหม่ ซึ่งก็ทำเพิ่อใช้งานร่วมกับ MU-MIMO และ Beamfoaming ให้ดีขึ้นนั้นเอง แต่ก็ยังแอบเสียดายที่ไม่ใช่ Wi-Fi 6 แต่ด้วยราคาก็ถือว่าสมเหตุสมผลแล้ว
โดยตัว TP-Link Archer C64 ก็มีราคาอยู่ที่ 1,090 บาท เท่านั้น มาพร้อมการรับประกัน Limited Lifetime ให้เลย