จากประสบการณ์ส่วนตัวเลย ครั้งหนึ่งเคยเจอเหตุการณ์ ‘ไฟตก’ ที่บ้าน แบบไม่มีสัญญาณใด ๆ ทั้งสิ้น ผลลัพธ์คือคอมฯ ดับกะทันหัน ซ้ำร้ายยังส่งผลให้ ‘เมนบอร์ด’ หนึ่งในชิ้นส่วนคอมฯ ที่สำคัญมาก ๆ พังลงทันที ตั้งแต่นั้นมาเวลามีฝกตกเมื่อไร เป็นอันต้องปิดใช้งานคอมฯ ชั่วคราว รวมถึงอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าตัวอื่น ๆ ที่มีความ ‘อ่อนไหว’ ต่อไฟฟ้าด้วยเช่นกัน กลายเป็นความระแวงอย่างไม่ที่ควรจะมี และแล้วก็ได้มารู้จักกับ ‘เครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ’ ที่เกิดมาเพื่อแก้ไขปัญหานี้โดยเฉพาะ
รีวิวนี้พบกับ ZIRCON IDR-15KVA สุดยอดเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ Automatic Voltage Regulator (AVR) ซึ่งครอบคลุมได้ระดับ 15000VA/9000W ใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้แทบจะทั้งบ้านกันเลย ตัวเครื่องมี Servo Motor System ใช้แรงบิดของมอเตอร์ มาช่วยปรับแรงดันไฟฟ้าได้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไมให้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เกิดเสียหายจากปัญหาทางไฟฟ้าอย่าง ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก นี้เอง ใครที่บ้านมี PC มากกว่าหนึ่ง มีอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้ามากมาย อาทิ แอร์ ตู้แช่ ระบบไฟส่องสว่าง (กระทั่งนักขุดคริปโต) หรือเป็น Home Office , Home Studio แนะนำให้เข้ามาดูรีวิวนี้เลยครับ
ZIRCON IDR-15KVA
Key Feature
- Single-phase servo motor technology
- Large power capacity from 8KVA to 20KVA
- Digital delay countdown system
- Reliable manual bypass switch
- Perfect protection including low/high voltage, overload, overheat, surge, short circuit
Specification
- Name : ZC – IDR Series
- Model : IDR-15KVA
- Power : 15000VA/9000W
- Technology : Digital CPU Control & Delay Countdown System
- Transformer : Copper Servo Motor Type Transformer
- Input Voltage : 140-260Vac, 50/60Hz
- Output Voltage : 220/230Vac, ±3%
- Efficiency : >98%
- Phase : Single Phase
- Display : Dual Digital LED Display
- Cooling System : Smart Fan (Automatic Startup at 65°C)
- Protection : High Voltage / Low Voltage (Optional) / Overheat / Overload / Short Circuit / 6s or 180s Output Delay
- Safety Standard : CE (LVD + EMC)
- Operating Condition : 0~50℃, Non Condensing
- Unit Weight / N.W. : 57.0 kgs
- Giftbox Size (mm) : 615*510*975
- Carton Size (mm) : Wooden Carton
AVS ต่างจาก UPS อย่างไร
ก่อนจะไปดูรีวิว มาดูก่อนว่า AVS แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ หลายคนคงรู้จักกับ Uninterruptible Power Supply (UPS) หรือเครื่องสำรองไฟมากกว่า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้สำหรับเป็นพลังงานไฟฟ้าฉุกเฉิน ให้เวลาเราปิดอุปกรณ์ได้ก่อนที่ไฟจะดับ ทำให้ช่วยรักษาหรือยึดอายุอุปกรณ์เช่น PC ไปได้ยาว ๆ ฉะนั้น AVS คืออะไร ต่างจาก UPS อย่างไร
สำหรับตัว AVS จะต่างจาก UPS ตรงที่ไม่ใช่เครื่องสำรองไฟ เพราะไม่ได้มีแบตฯ ในตัวเหมือน UPS แต่ก็แลกกับประสิทธิภาพในการ ‘ปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติ’ ที่ทำได้รวดเร็วทันใจ เหนือกว่า UPS มาก ๆ แทนนั้นเอง ฉะนั้นใครที่บ้านเจอไฟตกบ่อย ๆ หรือไม่อยากเสี่ยงจากทั้งไฟตกและไฟเกินจาก ‘เหตุไม่คาดฝัน’ ตัว AVS จะตอบโจทย์ด้านนี้ได้ดีกว่าครับ
รู้จักกับ ZIRCON IDR-15KVA
ZIRCON IDR-15KVA นับเป็นเครื่องปรับแรงดันไฟฟ้าอัตโนมัติระดับใช้งานกับบ้านได้ทั้งหลัง ดังนั้นขนาดจึงมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ที่ใหญ่ยิ่งกว่าคือน้ำหนัก ซึ่งมีมากถึง 50 กิโลกรัม ดังนั้นควรหาที่ตั้งเฉพาะรอไว้เลย จะได้ไม่ลำบากตอนที่ต้องเคลื่อนย้ายไปมา ส่วนหน้าตา แม้ชื่อจะฟังดูยาก ๆ แต่ตัวเครื่องก็ได้ไม่มีปุ่มควบคุมอะไรมากมาย นอกจากไฟบอกสถานะการทำงานกับปุ่มเปิดปิดเท่านั้น เหมือนออกแบบให้วางทิ้งไว้ยาว ๆ ไม่ต้องมาวุ่นวายอะไรมากนั้นเอง
อนึ่ง หากตัว ZIRCON IDR-15KVA ใหญ่เกินไป หรือใครไม่ได้จะใช้งานระดับทั้งบ้าน ส่วนนี้ทาง ZIRCON ก็มีเครื่อง AVR หรือ AVS ตัวเล็ก ๆ สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือ PC บางตัวอยู่เหมือนกัน
ลองดูรายละเอียดได้ที่ https://zircon.co.th/category/Stabilizer
อย่างที่กล่าวไป ZIRCON IDR-15KVA เป็น AVS ขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อปลั๊กไฟก็ย่อมไม่ธรรมดาเช่นกัน ปกติจะต้องเป็นรูปลั๊กไฟสามตาที่คุ้นเคย ทว่าตัวเครื่องนี้ใช้เป็นแบบ Hardwire terminal หรือแบบต่อตรงเลย จุดนี้หากไม่เชี่ยวชาญ หรือจริง ๆ ควรให้ช่างมาช่วยติดตั้งไปเลยจะดีกว่า
การใช้งาน
เข้าสู่การติดตั้งและใช้งาน สำหรับสถานที่ที่ใช้รีวิวจะเป็นห้องสตูดิโอ ซึ่งเหมาะสำหรับการเทสเจ้า ZIRCON IDR-15KVA ไม่น้อย จุดนี้หากใครที่บ้านหรือที่ทำงานมีห้องสตูดิโอขนาดย่อม แล้ววันหนึ่งขณะกำลังถ่ายงาน อยู่ดี ๆ เกิดไฟตก จนทำให้ไฟในห้องสตูดิโอติด ๆ ดับ ๆ ก็น่าจะทำให้เราเสียงานได้เลย ฉะนั้นในรีวิวนี้จะมาลองเทสกัน โดยลองใช้ไฟในห้องสตูดิโอหนึ่งตัว (ไฟตัวอื่น ๆ มีการติดตั้งจนรื้อไม่ได้แล้ว) กับคอมฯ อีกตัว แล้วดูว่าหากเกิดเหตุการณ์ไฟตก ไฟจะติด ๆ ดับ ๆ กับคอมฯ ดับไปด้วยหรือไม่
ในที่นี้ได้จำลองไฟตกด้วยหม้อแปลงปรับแรงดันไฟฟ้าชนิดแกนหมุน Variac (Variable Voltage Transformer) ซึ่งจะเชื่อมต่อ Input กับตัว ZIRCON IDR-15KVA ส่วน Output ก็รอเสียบพวกอุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าที่จะนำมาทดสอบครั้งนี้
การเปิดใช้งานนั้น ส่วนนี้จะมี ‘ดีเลย์สวิทซ์’ ให้เลือกระหว่าง 6 วินาที กับ 180 วินาที โดยหากเลือก 6 วินาที นั้น จะเหมาะสำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่นระบบแสงสว่าง คอมพิวเตอร์ ทีวี เครื่องเสียง ส่วน 180 วินาที จะเหมาะสำหรับอุปกรณ์มอเตอร์ อาทิ ทำความร้อน ความเย็น เช่น ปั๊มลม แอร์ ฮีทเตอร์ จะเรียกว่าเป็นการวอร์มความพร้อมก็ได้ คือเตรียมความพร้อมในการปรับแรงดันไฟฟ้าในอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่
จุดเด่นการทำงานของดีเลย์สวิทซ์
- มีระบบหน่วงเวลาจ่ายไฟ ป้องกันไฟเข้าอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเร็วเกินไป ช่วยป้องกันไฟกระชากเข้าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำให้เกิดเสียหายรุนแรงได้
- ช่วยป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหายจากปัญหาไฟฟ้ามาแบบขาดช่วง ดับ ๆ ติด ๆ
- สามารถปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับการใช้งานอุปกรณ์ไฟที่หลากหลายได้ทุกชนิด
การใช้งานดีเลย์สวิทซ์
- กดเพื่อตั้งค่า 6 วินาที สำหรับอุปกรณืเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ระบบแสงสว่าง คอมพิวเตอร์ ทีวี เครื่องเสียง ฯลฯ
- กดเพื่อตั้งค่า 180 วินาที สำหรับอุปกร์มอเตอร์เครื่องทำความร้อน เครื่องทำความเย็น เช่น ปั๊มลม แอร์ ตู้เย็น ฮีทเตอร์ เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่ต้องการความเสถียรของระบบไฟฟ้าสูง
อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อะไรที่เหมาะกับ Stabilizer
ทุกคนอาจมีคำถามว่า ZIRCON IDR-15KVA หรือพวกเครื่อง AVS ที่ปรับแรงดันไฟฟ้า (Stabilizer) แบบนี้ เหมาะกับอุปกรณ์แบบไหน คำตอบคือ เหมาะกับอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานระบบสำรองไฟเนื่องจากราคาเครื่องสำรองไฟที่ค่อนข้างสูง แอร์ อุปกรณ์ทำความร้อน ความเย็น ตู้แช่เครื่องดื่ม ตู้เย็น เครื่องชงกาแฟ จอภาพขนาดใหญ่ Projector นั้นเองครับ
ประสิทธิภาพ
แรงดันไฟฟ้าในปกติของประเทศไทยคือ 220V ซึ่งถือเป็นแรงดันไฟที่นิยมใช้งานตามบ้านทั่วไป และหน้าที่ของตัว ZIRCON IDR-15KVA ก็คือการรักษาแรงดันไฟที่ 220V ให้ได้ตลอดการใช้งาน ส่วนนี้เองตัวเครื่องมีการระบุว่าใช้ Copper Servo Motor Type Transformer ใช้แรงบิดของมอเตอร์มาช่วยปรับแรงดันไฟฟ้า เป็น AVS แบบ Single Phase กับมีระบบควบคุมด้วยซีพียู Digital CPU Control และ Delay Countdown System รายละเอียดลึก ๆ ไว้ไปศึกษาเพิ่มเติมได้ แต่สำหรับรีวิวนี้ จุดมุ่งหมายคือ การทดสอบตัวเครื่อง ดูว่าจะสามารถรักษาแรงดันไฟให้อยู่ในระดับ 220V ได้ดีและเสถียรแค่ไหน
อุปกรณ์ที่นำมาทดสอบครั้งก็มีไฟสตูดิโอ LED และคอมฯ อีกหนึ่งตัว จุดที่ช่วยให้ดูว่า AVS อย่าง ZIRCON IDR-15KVA ทำงานได้ดีแค่ไหน ก็รอดูจากตัวไฟสตูดิโอได้เลย ดูว่าขณะไฟตก ตัวไฟส่องจะมีการอ่อนกำลังลงหรือติด ๆ ดับ ๆ หรือไม่ และคอมฯ ไปด้วยไหม
ประเดิมด้วยการหมุน Variac ลองลดแรงดันไฟลง จากคลิปจะสังเกตได้เลยว่า ตอนที่ไฟกำลังตก จะได้ยินเสียงมอเตอร์ของตัว ZIRCON IDR-15KVA แสดงถึงการทำงานชัดเจน และหน้าจอสถานะ ตัวเลขฝั่งซ้ายมือมีการลดลงไป บ่งบอกเลยว่าไฟกำลังตก แต่ตัวเลขฝั่งขวา ยังคงรักษาให้อยู่ในช่วงระดับที่ 220V แสดงว่า ZIRCON IDR-15KVA กำลังทำหน้าที่เป็น AVS รักษาแรงดันไฟฟ้าอย่างขันแข็ง
แรงดันไฟฟ้าจาก Variac ลดไปเหลือเพียง 159V หากเป็นปกติ ถ้าไม่มีตัวเครื่อง AVS อุปกรณ์บางตัวคงดับไปเรียบร้อย หรืออาจเกิดความเสียหายได้เลย แต่ถ้ามี AVS อย่างตัว ZIRCON IDR-15KVA แม้ไฟจะตก แต่แรงดันก็ยังอยู่ระดับปกติ หายห่วงได้
ต่อไปลองต่อไฟประจำห้องสตูดิโอและคอมฯ ลองดูว่าหากไฟตกไปแล้ว ไฟสตูดิโอจะยังส่องสว่างอยู่ไหม โดยในที่นี้มีการจำลองว่าไฟตกจนลดลงไปแล้ว 165V
ผลคือตัวไฟสตูดิโอยังคงสว่างเหมือนเคย
เพื่อให้เห็นกันชัด ๆ ลองดูแบบเป็นคลิป ซึ่งในคลิปก็ได้จำลองการหมุน Variac จำลองไฟตกแบบ Realtime ให้เห็น ก็พบว่าตัวไฟไม่มีอาการติด ๆ ดับ ๆ ให้เห็นเลยแม้แต่น้อย ส่วนคอมฯ ด้านหลัง ก็ยังไม่ดับไปด้วยเช่นกัน