กลับมาสานต่อความคุ้มค่าอีกครั้งกับ Kingston KC3000 PCIe 4.0 NVMe M.2 SSD ภาคต่อของ KC2000 ที่รอบนี้มาพร้อม Gen 4×4 NVMe หรือรองรับ PCIe 4.0 มาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ล่าสุด ยกระดับความเร็วอ่านเขียนข้อมูลไปอีกขั้น หรือควรจะเรียกว่า ‘เท่าตัว’ ไปเลย โดยมาพร้อมความเร็วที่มากถึง 7,000Mb/s และใช้แฟลชเมมโมรี่แบบแบบ 34 TCL NAND เน้นความเร็วแบบมีเสถียรภาพตลอดการใช้งาน พ่วงด้วยความจุที่มีให้เลือกมากถึง 4TB (4096GB) เรามาถึงยุคที่ SSD ความจุพอ ๆ กับ HDD แล้ว สำหรับตัว KC3000 จะทำความเร็วเต็มสปีดขนาดไหน และใช้งานจริงเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งรีวิวนี้ก็ได้รุ่นความจุขนาด 2TB มาลองใช้กันเลย เป็นไงมาดูกัน
Kingston KC3000 PCIe 4.0 NVMe M.2 SSD รุ่น 2TB (ดูรายละเอียดได้ที่นี่)
ฟอร์มแฟคเตอร์ : M.2 2280
อินเทอร์เฟซ : PCIe 4.0 NVMe
ความจุ : 2048GB หรือ 2TB
ชุดควบคุม : Phison E18
NAND : 3D TLC
ความเร็วอ่าน/เขียน : 7,000/7,000 MB/s
ความเร็วอ่าน/เขียน 4K แบบสุ่ม : 1,000,000/1,000,000 IOPS
จำนวนไบต์ (TBW) : 1.6PBW
MTBF : 1,800,000 ชั่วโมง
การรับประกัน : 5 ปี
แกะกล่อง
สำหรับกล่อง….เออ ขอเรียกว่าซองกระดาษดีกว่า ตัวแพ็คเก็จของ Kingston KC3000 คือมีให้เท่านี้จริง ๆ ให้อารมณ์เหมือนซื้อแฟลชไดร์ฟยังไงยังงั้น
แต่เมื่อแกะออกมา ก็จะได้เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่านับหมื่นบาท !! และนี่ก็คือ Kingston KC3000 PCIe 4.0 NVMe M.2 SSD กับขนาดความจุ 2TB ที่เราจะมารีวิวกันนี้เองครับ
อนึ่ง หากใครซื้อมาแล้ว อย่าเพิ่งทิ้งซองละครับ เพราะภายในซองจะมี Serial Number หรือรหัสสำหรับใช้งานซอฟต์แวร์โคลนนิ่งของทาง Kingston ให้ด้วย ถ้าไม่ง้างนี่คือไม่เจอเลยนะเออ
งานออกแบบ
ตัวKingston KC3000 มาพร้อมฟอร์มแฟคเตอร์แบบ M.2 2280 ที่มีขนาดกระทัดรัด หน้าตาโดยรวมออกเรียบ ๆ ไม่หวือหวาเหมือน SSD ที่เน้นเกมมิ่ง แต่กลับซ่อนความดุดันภายใจ ด้วยความเร็วระดับ 7,000 MB/s ทั้งอ่านและเขียน แรงเกินหน้าตากันเลย
ตัว Label หรือบางคนอาจเรียกว่าสติ๊กเกอร์ จริง ๆ มันคือแผ่นกราฟีนอะลูมิเนียมช่วยระบายความร้อนของตัว Kingston KC3000 นี้เอง
เนื่องด้วยเป็น SSD แบบ M.2 ที่มีความจุถึง 2TB จึงทำให้มีชิปแฟลชทั้งหน้าและหลัง แต่อย่างนั้นก็ยังเป็น M.2 2280 ที่สามารถใส่ได้ทั้ง Desktop และ Laptop หรือโน้ตบุ๊ก
ติดตั้งและใช้งาน
ในรีวิวนี้ได้ลองนำตัว Kingston KC3000 ขนาด 2TB ไปใส่กับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งที่รองรับ PCIe Gen 4 ดูให้เห็นเลยว่าใส่กับโน้ตบุ๊กได้ไม่มีปัญหา (แต่ถ้าโน้ตบุ๊กไม่มีช่อง M.2 เหลือ ก็อดใช้นะเออ)
เช็คขนาดพื้นที่ จาก 2TB ก็เหลืออยู่ 1.86TB ซึ่งไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะว่าด้วยเรื่องของการคำนวนความจุแบบ ‘ปัดเศษ’ นี้เอง (อยากรู้ถาม Google โล้ด)
ประสิทธิภาพ
อันดับแรกก็จับเทสความเร็วอ่านเขียนไฟล์ก่อนเลย โดยใช้โปรแกรม CrystalDiskMark (เทสไฟล์ 32GB) ผลคือได้ความเร็วอ่านถึง 7,044 Mb/s กับความเร็วเขียนถึง 6,853 MB/s
ต่อไปลองเทสไฟล์ 1GB ก็ได้ความเร็วใกล้เคียงกับสเปก 7,000Mb/s สรุปยังแรงพอสมกับที่โฆษณา
ลอง Copy ไฟล์ที่มีทั้งขนาดและไฟล์ย่อยมากมาย โดยรวม ๆ อยู่ที่ 10GB กว่า ใส่ตัว Kingston KC3000 ก็ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสเปกคอมฯ ที่ใช้อยู่เหมือนบางส่วน
เช็คสภาพตัว Kingston KC3000 ก็พบอุณหภูมิปกติอยู่ที่ 47 องศา
ต่อไปลองใช้งานแบบต่อเนื่อง ก็พบอุณหภูมิตอนทำงานช่วงนี้อยู่ที่ประมาณ 68 องศา นับว่ายังคุมอุณหภูมิได้ดีอยู่ ช่วยให้ใช้งานความเร็วสูงได้เสถียรได้ดีแน่นอน
สุดท้ายลองเกมมิ่งดูบ้าง แม้ตัว Kingston KC3000 จะไม่ได้ชูว่าเป็นเกมมิ่งจริงจัง แต่ความเร็วอ่านเขียนระดับ 7,000 MB/s มันก็น่าลองจริง ๆ เปิดเกม Elden Ring ที่จะต้องโหลดฉากอยู่บ่อย ๆ (โดยเฉพาะตอน Your Died) ผลคือตามในคลิปเลย ทำได้รวดเร็วมาก
ความเร็วแบบนี้ถือว่าดีงามมาก ๆ เวลาต้อง Your Died บ่อย ๆ ในเกมนี้