ตอนนี้เราเตอร์ส่วนใหญ่ ก็มักมาพร้อม Wi-Fi 6 กันเกือบหมดแล้ว ถามว่า Wi-Fi 6 หรือ 802.11 ax คืออะไร ? มันคือมาตรฐานการเชื่อมต่อ Wi-Fi ใหม่ ที่มาแทนที่ Wi-Fi 5 หรือ 802.11 ac เดิม ทำให้ได้การเชื่อมต่อ Wi-Fi ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หากแต่เมื่อก่อน Wi-Fi 6 มีเฉพาะในเราเตอร์ระดับ Top เท่านั้น แต่ปัจจุบัน รุ่นราคา 1 – 3 พันบาท ก็มีแล้ว
รีวิวนี้พบกับ TP-Link Archer AX72 เราเตอร์ Dual-Band พร้อม Wi-Fi 6 รองรับความเร็วได้มากถึง AX5400 และมาพร้อมฟีเจอร์มากมาย อาทิ HomeShield บริการรักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพสูง , Less Heat ช่วยลดความร้อนของตัวเครื่องเวลาทำงาน , USB Sharing แชร์ไฟล์ผ่านพอร์ต USB 3.0 ได้ Easy Setup ตั้งค่าเราเตอร์ผ่านอปฯ ในเวลาไม่กี่นาที และฟีเจอร์ด้านการเชื่อมต่อสำคัญ ๆ อย่าง Beamforming , High-Power FEM , 4×4 MU-MIMO , OFDMA และอื่น ๆ อีกมากมาย
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเราเตอร์ Wi-Fi 6 ประสิทธิภาพสูงตัวหนึ่ง โดยหารู้ไม่ว่าเป็นเราเตอร์ที่มีราคาประมาณ 3 พันบาทต้น ๆ เท่านั้น การใช้งาน และ ประสิทธิภาพ จะเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาดูกันครับ
TP-Link Archer AX72
- Gigabit WiFi for 8K Streaming– ความเร็วรวมสูงสุดของ WiFi ที่ 5400 Mbps เหมาะสมกับทุกการใช้งานทั้งท่องหน้าเว็บไซต์ , การสตรีมมิ่ง และการดาวน์โหลดในเวลาเดียวกัน 5400 Mbps †
- Fully Featured Wi-Fi 6– พร้อมรองรับการส่งสัญญาณแบบ 4×4 ช่องสัญญาณ HT160 เพื่อการเชื่อมต่อความเร็วสูงระดับ8 Gbps
- Connect 100+ Devices– รองรับ MU-MIMO และ OFDMA เพื่อลดความหน่วงในสัญญาณที่มีความแออัด และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4 เท่า‡**
- Extensive Coverage– เสาสัญญาณ 6 เสาและ มาพร้อมกับเทคโนโลยี Beamforming ที่ให้การส่งสัญญาณที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
- HomeShield– บริการรักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพสูงของ TP-Link ช่วยให้เครือข่ายในบ้านของคุณปลอดภัยด้วยฟีเจอร์ที่ล้ำสมัยสำหรับการป้องกันระบบเครือข่ายและ อุปกรณ์ IoT (Internet of Things)*
- More Vents, Less Heat – ปรับปรุงพื้นที่ช่องระบายอากาศเพื่อช่วยลดพลังงานความร้อนของตัวเครื่อง
- USB Sharing – USB 3.0 สำหรับแชร์ไฟล์และสร้างคลาวด์ส่วนตัว
- Easy Setup– ตั้งค่าเราเตอร์ภายในเวลาไม่กี่นาทีด้วยแอป Tether
- https://www.tp-link.com/th/home-networking/wifi-router/archer-ax72/#overview
งานออกแบบ
หากดูไกล ๆ คงนึกว่าเป็นวัตถุสมัยก่อน หรือของตกแต่งบางอย่าง แต่จริง ๆ มันคือเราเตอร์ TP-Link Archer AX72 พูดได้เต็มปากเลยว่าสวย ลวดลายบนตัวเราเตอร์ก็เด่นสะดุดตามาก จะติดนิด ๆ ก็ต้องส่วนที่เป็นแถบพลาสติกเงา ที่พาดเฉียงมา แอบเป็นรอยง่ายอยู่เหมือนกัน (แม้จะไม่ได้สัมผัสเลยก็ตาม) แต่นอกนั้นก็ดูสมกับเป็นเราเตอร์ประสิทธิภาพสูง ดูมีราคา
อนึ่ง ส่วนที่เป็นลวดลายไม่ได้มีเพียงเฉพาะด้านบน แต่ยังลามไปยังข้างใต้งด้วย จุดนี้ทำให้รู้เลยว่า ไม่ได้เป็นเพียงลวดลายเท่านั้น แต่เป็นส่วนช่วยระบายความร้อยของตัวเราเตอร์ด้วย ซึ่งส่วนนี้ก็มีชื่อเรียกด้วยคือ More Vents, Less Heat ช่องระบายอากาศช่วยลดความร้อน หรือช่วยกระจายความร้อนได้ดีขึ้นนั้นเอง ซึ่งตัว Archer AX72 ถือเป็นเราเตอร์สเปกสูงตัวหนึ่งเลย ดังนั้นย่อมมีความร้อนจากการใช้งานมากเป้นพิเศษแน่ ส่วนนี้ก็แก้ด้วยดีไซน์ที่ช่วยให้ระบายความร้อนได้ดีเป็นพิเศษเช่นกัน
ลองดูขนาดตัวเราเตอร์ Archer AX72 นับว่าไม่ใหญ่มากแบบพวก 8 – 10 เสา แต่ก็ไม่ได้เล็กเลยเช่นกัน
เสาสัญญาณทั้ง 6 เสา มาพร้อมเทคโนโลยี Beamforming ช่วยให้ส่งสัญญาณได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเสถียรยิ่งขึ้นด้วย ส่วนนี้มีข้อสังเกตตรงที่ 4×4 MU-MIMO ช่องสัญญาณ HT160 เชื่อมต่อความเร็วสูงระดับ 8 Gbps จุดนี้คือการส่งสัญญาณแบบ 5 GHz นั้นเอง ซึ่งตัว Archer AX72 จะมีเสา 5 GHz ให้ถึง 4 เสา รองรับความเร็วได้สูงถึง 4804 Mbps ส่วนอีก 2 เสาคือ 2.4 GHz รองรับความเร็วได้สูงสุด 574 Mbps ฉะนั้นหากต้องให้ตัวเราเตอร์ สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์หลาย ๆ ตัว ก็ควรเลือกใช้คลื่น 5 GHz ไปเลย ความเร็วมีให้พอแน่นอน แต่ถ้าเน้นไถ่ Facebook ส่อง Line ดู Youtube นิด ๆ หน่อย ๆ ก็ใช้คลื่น 2.4 GHz ได้
ทั้งนี้ตัว Archer AX72 มีการการันตีเลยว่า “Connect 100+ Devices” รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi ไม่มากกว่า 100 อุปกรณ์ !! จุดนี้คือมี MU-MIMO กับ OFDMA มาช่วยลดความหน่วงในสัญญาณที่มีความแออัด และ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 4 เท่า แน่นอนว่า ส่วนนี้คือสิ่งที่ความเร็ว AX5400 ทั้งจาก 2.4 GHz กับ 5 GHz จะมีประโยชน์อย่างแน่นอน
พอร์ตเชื่อมต่อ LAN/WAN มาเป็น Gigabit ทั้งหมด จำนวนก็มาแบบมาตรฐาน 4 x 1 แบบที่เห็นในหลาย ๆ รุ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ Archer AX72 กลับมีด้วยคือ USB 3.0 จำนวนหนึ่งช่อง เอาไว้ทำ USB Sharing แชร์ไฟล์และสร้างคลาวด์ส่วนตัวได้เลย ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะมีในเราเตอร์งบสามพันบาท
การตั้งค่าและฟีเจอร์
ในหน้าตั้งค่า ขอเอาตัว Archer AX23 (ดูรีวิวได้ที่นี่) อีกหนึ่งเราเตอร์ Wi-Fi 6 จาก TP-Link ที่มีราคาย่อมเยากว่า มาประกบคู่กับตัว Archer AX72 ด้วย เนื่องจากมีวิธีตั้งค่าเหมือนกัน แต่ตัว Archer AX72 แอบมีความพิเศษกว่า ซึ่งจะตั้งค่าได้ง่ายและพิเศษยังไง ลองมาดูกันต่อ
Easy Setup ด้วยแอปฯ TP-Link Tether
การตั้งค่าตัว TP-Link Archer AX72 ทำได้ง่ายมาก เพียงโหลดและติดตั้งตัวแอปฯ TP-Link Tether ( iOS / Android) จากนั้นก็เชื่อมต่อ Wi-Fi กับตัวเราเตอร์ (ใช้รหัสจากสติ๊กเตอร์ใต้เครื่อง) จากนั้นก็เปิดตัวแอปฯ เลือกเราเตอร์ Archer AX72 เพื่อตั้งค่า ที่เหลือก็ตามขั้นตอนเลย มันจะให้ตั้งรหัสตั้งค่าตัวเราเตอร์กับรหัส Wi-Fi ทั้งคลื่น 2.4 GHz กับ 5 GHz หรือจะเปิด Smart Connect ใช้งาน Wi-Fi ชื่อเดียวไปเลยก็ได้ แล้วให้ตัวเราเตอร์เลือกเองว่า จะให้ใช้คลื่น 2.4 GHz กับ 5 GHz ตามความเหมาะสม
หลังตั้งค่าเสร็จ ก็ใช้งานรหัส Wi-Fi ใหม่ จากนั้นก็เปิดตัวแอปฯ TP-Link Tether ลองดูที่หน้าหน้าแรก (Home) ก็จะเห็นสถานะการเชื่อมต่อตัวเราเตอร์ เช็คได้เลยว่ามีกี่อุปกรณ์ ใช้ความเร็วไปเท่าไร โดยรวมใช้งานไม่ยากเลยสำหรับตัวแอปฯ หรือการตั้งค่าใช้งานเราเตอร์ของ TP-Link
การตั้งค่าและตั้งค่าขั้นสูง
ในส่วนการตั้งค่าอื่น ๆ หากเป็นในเวอร์ชั่นแอปฯ ก็จะมีตัวเลือกการตั้งค่าที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น อาทิ การตั้งค่าเครือข่าย แชร์เครือข่าย ควบคุมไฟ LED เช็คอัปเดตเฟิร์มแวร์ หรือ ‘โหมดการทำงาน’ สามารถสลับการทำงานของตัวเราเตอร์เป็น Access Point ได้ง่าย ๆ จากในแอปฯ เลย
สำหรับใครที่มีความรู้ด้านอุปกรณ์เน็ตเวิร์คเป็นอย่างดี ก็สามารถเข้าไปตั้งค่าขั้นสูงผ่านเว็บเพิ่มเติมได้ โดยจะมีให้ตั้งค่าทั้ง NAT Forwarding , DHCP Server , IPv6 หรือเปิดใช้งาน OFDMA แบ่งช่องสัญญาณเพื่อให้รองรับการใช้งานได้หลายอุปกรณ์ ที่จะเข้ามาใช้งานพร้อมกันได้ดีขึ้น
HomeShield บริการรักษาความปลอดภัยที่มีคุณภาพสูงของ TP-Link
ตัว TP-Link Archer AX72 มาพร้อม HomeShield บริการรักษาความปลอดภัยคุณภาพสูงจาก TP-Link หรือให้เรียกง่าย ๆ ก็คือ Antivirus กับ Total Security ที่ป้องกันตั้งแต่ตัวเราเตอร์กันเลย ซึ่งช่วยให้ไม่กินทรัพย์กรเครื่อง PC หรือสมาร์ทโฟนจากการลงโปรแกรมป้องกัน Archer AX72 จัดการให้เอง
ความพิเศษของ HomeShield จากที่ลองใช้งาน พบว่ามันสามารถรักษาความปลอดภัยพร้อมกับเช็คสภาพตัวเราเตอร์ ในคราวเดียวไปเลย คือกดสแกนครั้งเดียว ก็รู้เลยว่า รหัสผ่านที่ตั้งมีความปลอดภัยแค่ไหน ประะสิทธิภาพเครือข่ายเป็นอย่างไร มีฟีเจอรฺไหนเปิดบ้าง และความปลอดภัยจากเครือข่าย ส่วนนี้หากอยากให้ HomeShield ทำงานเต็มประะสิทธิภาพ ก็มีค่าบริการรายเดือนล่ะ 200 บาท หรือรายปี 1,750 บาท ใครต้องการให้เราเตอร์มีด่านสกัดกั้นตั้งแต่ต้นทางแบบเข้ม ๆ ก็ลองใช้บริการกันได้
USB Sharing แชร์ไฟล์และสร้างคลาวด์ส่วนตัว
ใครอยากมี Cloud Storage ขนาดย่อม TP-Link Archer AX72 จัดให้ได้ ตัวเราเตอร์มาพร้อมช่อง USB 3.0 ซึ่งหากนำอุปกรณ์เก็บข้อมูลมาเชื่อมต่อ ก็สามารถทำ File Sharing หรือ Media Sharing ได้เลย เพื่อให้สามารถเข้าถึงไฟล์ส่วนตัวได้ทุกที่ทุกเวลา
Parental Controls ควบคุมโดยผู้ปกครอง กับช่วยบล็อค URL ที่ไม่เหมาะสม
ฟีเจอร์ ‘ผู้คุมกฏ’ หรือ Parental Controls สำหรับตัว TP-Link Archer AX72 ก็มาครบสูตร ตั้งกฏควบคุมได้หลากหลายมาก เอาที่เด่น ๆ ก็มีตัว บล็อกเว็บไซต์หรือ URL ที่ไม่เหมาะสม การกรองเนื้อหา ที่กรองเนื้อหาเสี่ยง ๆ ทั้งเพศศึกษา การพนัน และการจ่ายเงิน สุดท้ายการกำหนดเวลาใช้งาน ได้ตั้งแต่กำหนดวันและเวลา เหล่านี้เอง คือเหมาะสำหรับพ่อแม่ ที่ต้องการคุมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเด็กดโดยเฉพาะ
One Mesh ชื่อเดียวใช้งานได้ทั้งบ้าน
อีกฟีเจอร์สำคัญ ต่อยอดจาก Smart Connect ที่เปิดให้ใช้งาน Wi-Fi ชื่อเดียวได้ คราวนี้เป็น เปิดให้ใช้งาน Wi-Fi ชื่อเดียว จากทุกอุปกรณ์เน็ตเวิร์คภายในบ้าน สำหรับใครที่ต้องการทำ Mesh Wi-Fi จากตัวเราเตอร์ TP-Link เดิม หากวันหนึ่งไปซื้อพวก Wi-Fi Extender มาใช้งาน ก็สามารถเปิด One Mesh เพื่อให้สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ภายในบ้าน ไม่ต้องคอยมาเชื่อมต่อใหม่ One Mesh จะจัดการเชื่อมต่อให้เอง เพื่อการใช้งานไม่สะดุด
ถือเป็นฟีเจอร์ที่ดีงามเลย คือใครไม่ได้มีเราเตอร์ Mesh Wi-Fi ตั้งแต่แรก แต่อยากแปลงให้ตัวเราเตอร์ Wi-Fi ของ TP-Link ที่มีอยู่ ทำ Mesh Wi-Fi ได้ บอกเลยว่า One Mesh จะช่วยได้มาก
ประสิทธิภาพ
มาถึงส่วนทดสอบประสิทธิภาพกันแล้ว ส่วนนี้ก็จะทดสอบกับบริการเน็ต 1000/300 Mbps ที่ใช้งานอยู่ ลองมาดูกันว่าตัว TP-Link Archer AX72 จะสามารถขับความเร็วระดับ 1000 Mbps หรือ 1 Gbps ผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 ได้ขนาดไหนกัน
****การทดสอบนี้ใช้สมาร์ทโฟนและโน้ตบุ๊กที่รองรับ Wi-Fi 6 ทั้งคู่****
ประเดิมด้วยคลื่น 5 GHz ในระยะใกล้ TP-Link Archer AX72 ก็สามารถทำความเร็วได้ถึง 804 Mbps และค่า Ping เพียง 3 ms เท่านั้น เร็วแรงเสถียรสุด ๆ
ส่วนคลื่น 2.4 Ghz ก็ยังสามารถทำความเร็วได้ โดยทำความเร็วได้ที่ 109/147 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่มากพอสำหรับคลื่น 2.4 Ghz ที่เน้นใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบเบา ๆ อย่าง ไถ่ Facebook ส่อง Line หรือดู Youtube กับ Tiktok
ต่อไปลองทดสอบการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 ผ่านคลื่น 5GHz ในระยะไกล โดยคราวออกห่างจากตัวเราเตอร์มาหน่อย ห่างกันประมาณ 1 ห้องนั่งเล่น
ประมาณนี้
ความเร็วโหลดเหลือ 553 Mbps กับความเร็วอัปโหลดเหลือ 244 Mbps นับว่าคลื่น 5 GHz ยังกระจายสัญญาณได้ไกล และเสถียรดูไม่น้อย แม้จะเป็นคลื่นที่เน้นใช้งานในระยะใกล้ก็ตาม
สรุป